  
             
สาระน่ารู้
วัสดุที่ใช้ในงานตกแต่งภายในนั้น มีมากมายหลายชนิด ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงวัสดุหลักๆ แต่เพียง 2 ชนิดก่อน นั่นคือ
1. ไม้แปรรูป
2. ไม้อัด และวัสดุทดแทนไม้อัด
1. ไม้แปรรูป
ในงานตกแต่งภายในของบ้านเรา ไม้แปรรูปที่นิยมใช้กันอย่างแพร่ะหลายและเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี มักจะได้มาจากสองแหล่งใหญ่ คือ
1.1 ไม้จากประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ ไทย, ลาว, เวียดนาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นก็จะมีชื่อเฉพาะของตนซึ่งแตกต่างกันไปดังนี้
ในบรรดาไม้ดังกล่าวนี้ แบ่งประเภทการใช้งานได้เป็นสองรูปแบบคือ
- ไม้โชว์ลวดลาย และสีสัน คือ ไม้สัก, ตองจิ(มะปิน), มะค่าโมง, สนเขา และยางพารา เป็นต้น
- ไม้ใช้เป็นโครงสร้างคือมีคุณสมบัติที่ดีในการใช้งานแต่ไม่สามารถโชว์ความสวยงามได้ เช่น ตะแบก, ยมหอม, จำปา,สยา,ยาง,เต็ง,ทุเรียน และก้านเหลือง
ในส่วนของถิ่นกำเนิด และวิธีการคำนวณเนื้อไม้จะขอกล่าวถึงเฉพาะเรื่องใกล้ตัว คือ เรื่องของไทยๆ เราดังนี้
ประเทศไทยมีเนื้อที่ 321 ล้านไร่ เป็นป่าไม้ประมาณ 1656 ล้านไร่ (จากผลประเมินการใช้ที่ดินของกระทรวงเกษตรฯ พ.ศ. 2505) เนื้อที่ 165 ล้านไร่ ปกคลุมด้วยป่านานาชนิด
เราสามารถจำแนกแหล่งที่มาของไม้ได้ดังนี้
ทุเรียน แหล่งใหญ่ได้แก่ มาเลเซีย
ยาง “ มาเลเซีย,อินโดนีเซีย และกลุ่มอินโดจีน
ยางพารา “ ตอนใต้ของไทย (ป่าปลูก) และมาเลเซีย
ตะแบก “ ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา
จำปา “ พม่า และมาเลเซีย
ตองจิ(มะปิน) “ พม่า
สัก “ พม่า
มะค่าโมง “ ลาว, พม่าและ กัมพูชา
เต็ง “ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และ กลุ่มอินโดจีน
สยา “ มาเลเซียและอินโดนีเซีย
สนเขา “ ลาว, จีน
ยมหอม “ พม่า, มาเลเซีย,เวียดนาม และ กัมพูชา
ก้านเหลือง “ พม่า, ลาว,เวียดนาม และ กัมพูชา
ซึ่งได้แบ่งอย่างง่ายๆ ออกเป็น 5 ประเภทที่สำคัญ คือ
1. ป่าดงดิบ (Evergreen Forest)
2. ป่าแดง (Deciduous Dipterocaps Forest)
3. ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest)
4. ป่าชายเลนน้ำเค็ม (Mangrove Forest)
5. ป่าเขา (Hill Forest)
นอกจากป่าสำคัญ 5 ชนิดแล้วยังมีป่าที่ขึ้นตามหาดทรายริมทะเล ป่าละเมาะตามลุ่มน้ำจืดและป่าหญ้าพงทั่วๆ ไป เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบันบ้านเราต้องพึ่งพาการนำเข้าไม้จากต่างประเทศทั้งหมด (ยกเว้นไม้ป่าปลูก) อันเป็นผลมาจากการยกเลิกสัมปทานการทำไม้ในประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ดังนั้นแหล่งไม้หลักๆ ก็คงมาจากประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ในวงการค้าไม้แปรรูปบ้านเราซื้อขายไม้แปรรูปกันเป็นลูกบาศก์ฟุต (คิวบิคฟุต) โดยมีสูตรการคำนวณปรมาตรได้ดังนี้
- กรณีความยาวของไม้เป็นเมตร ลูกบาศก์ฟุต = หนา(นิ้ว) * กว้าง(นิ้ว) * ยาว(เมตร) * .0228
- กรณีความยาวของไม้เป็นฟุต ลูกบาศก์ฟุต = หนา(นิ้ว) *กว้าง(นิ้ว) * ยาว(เมตร) / 144
วิธีการคำนวณยกนิ้วไทย และยกนิ้วฟุตของไม้แปรรูป (ใช้ในชนบทแต่ไม่เป็นที่แพร่หลาย)
การคำนวณยกเป็นการคำนวณจากพื้นที่ (เนื้อที่) ไม้แปรรูปหนึ่งยก เท่ากับ หน้ากว้าง 1 ศอก คือ 24 นิ้วไทย หรือ 20 นิ้วฟุต รวมยาว 16 วา (รวมยาว 104 ฟุต เพราะว่า 1 วา เท่ากับ 6.5 ฟุต)
ถ้าต้องการเปรียบเทียบการคิดพื้นที่ไม้หนึ่งยกในความหนาที่แตกต่าง กับ การคิดปรมาตรไม้แบบสากลที่นิยมใช้จะเห็นข้อแตกต่างดังนี้
ไม้ 1 ยก กรณีไม้หนา ½ นิ้ว = ½” * 20” * 104’ / 144 = 7.22 ลูกบาศก์ฟุต (คิวบิคฟุต)
ไม้ 1 ยก กรณีไม้หนา 1 นิ้ว = 1” * 20” * 104’ / 144 = 14.44 ลูกบาศก์ฟุต (คิวบิคฟุต)
ไม้ 1 ยก กรณีไม้หนา 1 ½ นิ้ว = 1 ½” * 20” * 104’ / 144 = 21.66 ลูกบาศก์ฟุต(คิวบิคฟุต)
1.2 ไม้จากประเทศสหรัฐอเมรกา (หรือยุโรป)
ในวงการเฟอร์นิเจอร์บ้านเรา อินทีเรีย ดีไซเนอร์ ได้นำไม้แปรรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) มาใช้ในงานตกแต่งภายใน เป็นระยะเวลานานแล้วและที่นิยมใช้กันมากก็คือ ไม้เนื้อแข็ง (American Hardwood)
 
2. ไม้อัดและวัสดุทดแทนไม้อัด
เราสามารถจัดกลุ่มไม้อัดและวัสดุทดแทนไม้อัดที่ใช้ในงานตกแต่งภายในหรืองานเฟอร์นิเจอร์นี้ออกเป็น 2 กลุ่ม หลักๆ ตามรูปแบบของงานดังนี้
2.1 กลุ่มไม่ต้องโชว์ลวดลายหรือสีสัน
กลุ่มนี้จะใช้ในงานทำพื้นทำโครงหรือทำสีพ่นที่ไม่มีความจำเป็นที่ต้องโชว์ลวดลายและสีสันแต่อย่างใด ประกอบด้วย
2.1.1 ไม้อัดยางธรรมดามีความหนาตั้งแต่ 4.00 มม. ขึ้นไป จนถึง 20.00 มม. ไม้อัดยางประเภทนี้ทุกท่านคงจะรู้จักกันดี ปัจจุบันวัตถุดิบในการผลิตทั้งภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศคือไส้ไม้ตรงกลางจะทำมาจากไม้เนื้ออ่อน ซึ่งเป็นป่าปลูกในประเทศ เช่น ยางพารา ส่วนแผ่นไม้บาง(วีเนียร์) ที่ปิดทับด้านหน้าและหลัง จะเป็นไม้ยางหรือไม้เบญจพรรณ ที่ต้องพึ่งการนำเข้าจากต่างประเทศเช่น จากมาเลเซีย, อินโดนีเซีย, อัฟริกา และ บราซิล
2.1.2 วัสดุทดแทนไม้อัดเช่น
- แผ่น เอ็ม.ดี.เอฟ บอร์ด เป็นแผ่นไม้ซี่งทำขึ้นจากไม้ป่าปลูกในประเทศ เช่น ยูคาลิปตัส, ยางพารา และ ชานอ้อย นำมาป่นให้ละเอียดแล้วอัดขึ้นรูปเป็นแผ่น มีความหนาแน่นสูงเทียบเท่ากับไม้อัดสามารถนำมาตีคิ้ว
-แผ่นปาติเกิ้ลบอร์ดเป็นแผ่นไม้ ซึ่งทำมาจากไม้ป่าปลูกภายในประเทศ เช่นเดียวกับ เอ็ม.ดี.เอฟบอร์ด แต่ส่วนมากจะทำมาจากยูคาลิปตัส และยางพารา นำมาสับเป็นชิ้นไม้เล็ก คล้ายขี้กบแล้วอัดขึ้นเป็นแผ่น มีความหนาแน่นปานกลางเหมาะแก่งานปิดผิวต่างๆ เช่น ปิดผิวด้วยลามิเนท และ พี.วี.ซี. หากเป็นแผ่นเปลือยนิยมนำมาประกอบเป็นตู้ลำโพงวิทยุ
-แผ่นยิปซั่มบอร์ด ปัจจุบันแผ่นยิปซั่มบอร์ดยังคงใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่คือ แร่ยิปซั่มซึ่งหาได้ในประเทศจะมีพึ่งพาของนำเข้าก็เพียงกระดาษที่ปิดผิวและทุกวันนี้แผ่นยิปซั่มบอร์ดก็เข้ามามีบทบาทในงานตกแต่งภายในมากขึ้นเพราะสะดวกในการใช้งาน ผู้ใช้งานสามารถซ่อมแซมงานบ้านของตัวเองก็ย่อมได้โดยไม่ต้องจ้างช่าง
2.2 กลุ่มที่ต้องโชว์ลวดลายและสีสัน (ไม้อัดแฟนซี) กลุ่มไม้อัดแฟนซีนี้ก็คือไม้อัดที่เกิดจากการนำเอาพื้นไม้อัดยางหรือแผ่น เอ็ม.ดี.เอฟบอร์ด หรือ แผ่นปาติเกิ้ลบอร์ดขนาดความหนา 4 มม. มาปิดทับด้วยวีเนียร์ (แผ่นไม้บาง) ของไม้โชว์ลายเพื่อให้เกิดความสวยงามอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ๆ ตามแหล่งผลิตของไม้วีเนียร์ได้ดังนี้
2.2.1 ไม้อัดแฟนซีที่ทำจากวีเนียร์ผลิตในประเทศเช่น ไม้อัดสัก,ไม้อัดมะปิน,ไม้อัดสนเขา(เรดิเอด้า)
2.2.2 ไม้อัดแฟนซีที่ทำมาจากวีเนียร์ที่ผลิตจากต่างประเทศคือ สหรัฐอเมริกาและยุโรป เช่น ไม้อัดไวท์แอช, ไม้อัดไวท์โอ๊ค(โอ๊คขาว), เรดโอ๊ค(โอ๊คแดง), ฮาร์ดเมเปิ้ล(เมเปิ้ลเนื้อแข็ง), เชอร์รี่,บีช และแอโร่ทิ๊ค(สักเทียม) และ ไม้อัดวีเนียร์ปุ่มมะค่าเทียมและปุ่มมะค่าแท้ ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากอิตาลี
    
|